วันศุกร์, มีนาคม 11, 2554

BEST OF THE YEAR 2010


BEST FILM

1. THE SONG OF SPARROWS – Iran

2. UNCLE BOONMEE WHO CAN RECALL HIS PAST LIVES – Thailand

3. TOY STORY 3 – USA

4. MOTHER – South Korea

5. UP IN THE AIR – USA

6. THE HURT LOCKER – USA

7. AFTERSHOCK – China

8. THE SOCIAL NETWORK – USA

9. (500) DAYS OF SUMMER – USA

10. INCEPTION – USA

11. I’M HERE, YOU’RE FAR – Thailand

12. AGARIAN UTOPIA – Thailand

13. SHUTTER ISLAND – USA

14. AN EDUCATION – UK

15. A SERIOUS MAN – USA

16. TOKYO TOWER: MOM AND ME, AND SOMETIMES DAD – Japan

17. MONGA – Taiwan

18. WAITING IN THE DARK – Japan

19. THE PIANO – New Zealand

20. IN THE SHADOW OF NAGA – Thailand

BEST DIRECTOR

Kathryn Bigelow (THE HURT LOCKER)

Joon-ho Bong (MOTHER)

David Fincher (THE SOCIAL NETWORK)

Majid Majidi (THE SONG OF SPARROWS)

Apichatpong Weerasethakul (UNCLE BOONMEE WHO CAN RECALL HIS PAST LIVES)

BEST THAI FILM

I’M HERE, YOU’RE FAR: ฉันอยู่นี่, เธออยู่ไกล

IN THE SHADOW OF NAGA: นาคปรก

INNOCENCE: เด็กโต๋

MUNDANE HISTORY: เจ้านกกระจอก

UNCLE BOONMEE WHO CAN RECALL HIS PAST LIVES: ลุงบุญมีระลึกชาติ

BEST THAI DIRECTOR

นิสา คงศรี & อารียา ศิริโสภา (เด็กโต๋)

พัฒนะ จิรวงศ์ (ฉันอยู่นี่, เธออยู่ไกล)

ภวัต พนังคศิริ (นาคปรก)

อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล (ลุงบุญมีระลึกชาติ)

อโนชา สุวิชากรพงศ์ (เจ้านอกกระจอก)

BEST ACTOR

Mohammad Amir Naji (THE SONG OF SPARROWS)

George Clooney (UP IN THE AIR)

Leonardo DiCaprio (SHUTTER ISLAND)

Morgan Freeman (INVICTUS)

Frank Langella (FROST/NIXON)

BEST ACTRESS

Holly Hunter (THE PIANO)

Kirin Kiki (TOKYO TOWER: MOM AND ME, AND SOMETIMES DAD)

Hye-ja Kim (MOTHER)

Carey Mulligan (AN EDUCATION)

Sinjai Plengpanich (ช่างมันฉันไม่แคร์)

BEST SUPPORTING ACTOR

Harvey Keitel (THE PIANO)

Kaoru Kobayashi (TOKYO TOWER: MOM AND ME, AND SOMETIMES DAD)

Sa-ard Piampongsarn (IN THE SHADOW OF NAGA)

Stanley Tucci (THE LOVELY BONES)

Bin Won (MOTHER)

BEST SUPPORTING ACTRESS

Marion Cotillard (INCEPTION)

Vera Farmiga (UP IN THE AIR)

Anna Kendrick (UP IN THE AIR)

Anna Paquin (THE PIANO)

Fan Xu (AFTERSHOCK)

BEST ADAPTED SCREENPLAY

AN EDUCATION

THE SOCIAL NETWORK

TOKYO TOWER: MOM AND ME, AND SOMETIMES DAD

TOY STORY 3

UP IN THE AIR

BEST ORIGINAL SCREENPLAY

(500) DAYS OF SUMMER

THE HURT LOCKER

INCEPTION

MOTHER

THE SONG OF SPARROWS

BEST SCORE

AFTERSHOCK

GRACE IS GONE

INCEPTION

THE SOCIAL NETWORK

TOY STORY 3

BEST SONG

Colorblind (INVICTUS)

Goodbye Days (MIDNIGHT SUN)

Grace is Gone (GRACE IS GONE)

Tokyo (TOKYO TOWER: MOM AND ME, AND SOMETIMES DAD)

We Belong Together (TOY STORY 3)

BEST CINEMATOGRAPHY

AGARIAN UTOPIA

INCEPTION

SHUTTER ISLAND

THE SOCIAL NETWORK

UNCLE BOONMEE WHO CAN RECALL HIS PAST LIVES

BEST FILM EDITING

(500) DAYS OF SUMMER

THE HURT LOCKER

INCEPTION

MUNDANE HISTORY

THE SOCIAL NETWORK

BEST COSTUME DESIGN

ALICE IN WONDERLAND

AN EDUCATION

ETERNITY: ชั่วฟ้าดินสลาย

MONGA

THE PIANO

BEST MAKEUP

AIR DOLL

ALICE IN WONDERLAND

SPLICE

BEST ART DIRECTION

ALICE IN WONDERLAND

ETERNITY: ชั่วฟ้าดินสลาย

THE PIANO

SHUTTER ISLAND

UNCLE BOONMEE WHO CAN RECALL HIS PAST LIVES

BEST VISUAL EFFECT

ALICE IN WONDERLAND

THE CHRONICLE OF NARNIA: THE VOYAGE OF THE DAWN TREADER

DEATH BECOMES HER

HAEUNDAE

INCEPTION

BEST YOUNG ACTOR (NOT OVER 25 YEARS OLD)

Alex Etel (MILLIONS)

Aaron Johnson (KICK-ASS)

Will Poulter (THE CHRONICLE OF NARNIA: THE VOYAGE OF THE DAWN TREADER)

Max Records (WHERE THE WILD THINGS ARE)

Phakpoom Surapongsanurak (MUNDANE HISTORY)

BEST YOUNG ACTRESS (NOT OVER 25 YEARS OLD)

Pimchanok Luewisetpaiboon (CRAZY LITTLE THING CALLED LOVE)

Bailee Madison (BROTHERS)

Chloe Moretz (KICK-ASS)

Anna Paquin (THE PIANO)

Emma Stone (EASY A)

BEST ANIMATED FEATURED

CLOUDY WITH A CHANCE OF MEATBALLS

DESPICABLE ME

HOW TO TRAIN YOUR DRAGON

THE PRINCESS AND THE FROG

TOY STORY 3

BEST DOCUMENTARY FEATURED

AGARIAN UTOPIA: สวรรค์บ้านนา

BABY ARABIA

I’M HERE, YOU’RE FAR: ฉันอยู่นี่, เธออยู่ไกล

I AM THE DIRECTOR: ฝันฉันคือผู้กำกับ

INNOCENCE: เด็กโต๋

The 6th SPIDEY THAI FILM AWARD: 2009


ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: Best Film

เฉือน: ฆาตกรรมรำลึก

ณ ขณะรัก: A Moment in June

พลเมืองจูหลิง: Citizen Juling

รักที่รอคอย: October Sonata

อนุบาลเด็กโข่ง

ผู้กำกับยอดเยี่ยม: Best Director

ก้องเกียรติ โขมศิริ (เฉือน: ฆาตกรรมรำลึก)

ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ & มานิต ศรีวานิชภูมิ & สมานรัชฏ์ กาญจนะวณิชย์ (พลเมืองจูหลิง: Citizen Juling)

นัฐพล วงศ์ตรีเนตรกุล (ณ ขณะรัก: A Moment in June)

เป็นเอก รัตนเรือง (นางไม้)

สมเกียรติ วิทุรานิช (รักที่รอคอย: October Sonata)

นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม: Best Actor in a Leading Role

ชาคริต แย้มนาม (ณ ขณะรัก: A Moment in June)

ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ (รักที่รอคอย: October Sonata)

นพชัย ชัยนาม (นางไม้)

ปรเมศร์ น้อยอ่ำ (สามชุก ขอเพียงโอกาสอีกสักครั้ง)

อารักษ์ อมรศุภศิริ (เฉือน: ฆาตกรรมรำลึก)

นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม: Best Actress in a Leading Role

ชุติมา ทีปะนาถ (หนีตามกาลิเลโอ)

รัชวิน วงศ์วิริยะ (รักที่รอคอย: October Sonata)

วนิดา เติมธนาภรณ์ (นางไม้)

ศิริน หอวัง (รถไฟฟ้า..มาหานะเธอ)

สินิทธา บุญยศักดิ์ (ณ ขณะรัก: A Moment in June)

นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม : Best Actor in a Supporting Role

จิรายุ ละอองมณี (ห้าแพร่ง)

พิษณุ นิ่มสกุล (รักที่รอคอย: October Sonata)

สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์ (ความสุขของกะทิ)

สุเชาว์ พงษ์วิไล (ณ ขณะรัก: A Moment in June)

อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์ (เฉือน: ฆาตกรรมรำลึก)

นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม: Best Actress in a Supporting Role

จรินทร์พร จุนเกียรติ (หนีตามกาลิเลโอ)

เจสสิก้า ภาสะพันธุ์ (เฉือน: ฆาตกรรมรำลึก)

เดือนเต็ม สาลิตุลย์ (ณ ขณะรัก: A Moment in June)

มาช่า วัฒนพานิช (ห้าแพร่ง)

ศันสนีย์ วัฒนานุกูล (ความจำสั้น แต่รักฉันยาว)

บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: Best Screenplay

ความจำสั้น แต่รักฉันยาว

เฉือน: ฆาตกรรมรำลึก

ณ ขณะรัก: A Moment in June

รักที่รอคอย: October Sonata

อนุบาลเด็กโข่ง

กำกับภาพยอดเยี่ยม: Best Cinematography

ความสุขของกะทิ

เฉือน: ฆาตกรรมรำลึก

ณ ขณะรัก: A Moment in June

นางไม้

รักที่รอคอย: October Sonata

ลำดับภาพยอดเยี่ยม: Best Film Editing

เฉือน: ฆาตกรรมรำลึก

ณ ขณะรัก: A Moment in June

ท้าชน

พลเมืองจูหลิง: Citizen Juling

รักที่รอคอย: October Sonata

กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม: Best Art Direction

ความสุขของกะทิ

เฉือน: ฆาตกรรมรำลึก

ณ ขณะรัก: A Moment in June

นางไม้

รักที่รอคอย: October Sonata

ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม: Best Original Score

ก้านกล้วย ๒

ความสุขของกะทิ

เฉือน: ฆาตกรรมรำลึก

ณ ขณะรัก: A Moment in June

รักที่รอคอย: October Sonata

เพลงประกอบยอดเยี่ยม: Best Original Song

ความคิด (ณ ขณะรัก: A Moment in June)

ความสุข (ความสุขของกะทิ)

จะได้ไม่ลืม (ความจำสั้น แต่รักฉันยาว)

บังเอิญ รักไม่สิ้นสุด (บังเอิญ รักไม่สิ้นสุด)

เวลาตาย (ฝันโคตรโคตร)

วันพุธ, สิงหาคม 11, 2553

MOTHER............[A]


นับว่าเป็นผู้กำกับที่ฝีมือเชื่อถือได้อีกคนหนึ่งของวงการภาพยนตร์เกาหลี หรือกระทั่งระดับโลก สำหรับเจ้าของผลงาน The Host (2006) หนังสัตว์ประหลาดเสียดสีการเมือง ที่น่าจะเป็นผลงานที่สร้างชื่อให้เขามากที่สุด โดยก่อนหน้านั้น ยังมีอีก 2 เรื่อง ที่ใครๆ ก็ชื่นชม แต่โดยส่วนตัวยังไม่มีโอกาสได้พิสูจน์ด้วยตนเองอย่าง Barking Dogs Never Bite (2000) และ Memories of Murder (2003) มาถึงงานกำกับชิ้นล่าสุดนี้ ก็ยังคงได้รับเสียงตอบรับในแง่ชื่นชม ด้วยการเป็นตัวแทนจากประเทศเกาหลีใต้ ในการเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม ถึงแม้จะไปไม่ถึงรอบ 5 เรื่องสุดท้าย แต่หนังก็ได้เข้าชิงในเวทีของ Independent Spirit Awards ในสาขาเดียวกัน เคียงข้างหนังดังอย่าง An Education และ A Prophet เป็นการชดเชย

เรื่องราวของแม่ (Kim Hye-ja) วัยกลางคนที่ทำงานเป็นหมอที่รักษาโรคด้วยสมุนไพรนานาชนิด รวมถึงการฝังเข็มแบบโบราณ เพื่อเลี้ยงตนเองและ Yoon Do-joon (Won Bin) ลูกชายวัยหนุ่มที่มีพัฒนาการทางสมองช้ากว่าคนปกติ เพื่อนคนเดียวของเขาคือ Jin Tae (Jin Ku) หนุ่มเสเพลที่ไม่เป็นโล้เป็นพาย ซึ่งจนแล้วจนรอด เรื่องที่เธอห่วงว่าจะเกิดขึ้นก็เริ่มส่อเค้า เมื่อ Jin Tae พา Yoon Do-joon ไปเอาคืนพวกคนรวยที่ขับรถเฉี่ยวชนแล้วหนี กระทั่งเรื่องถึงโรงพัก แต่ด้วยความที่ฝ่ายเจ้าทุกข์กลัวจะเสียชื่อเสียง ประกอบกับ Jin Tae และ Yoon Do-joon สนิทสนมกับตำรวจเป็นอย่างดี เรื่องจึงยอมความกันได้ แต่แล้วจู่ๆ ก็มีคนพบศพ Moon Ah-jung (Na Mun-he) นักเรียนสาว ที่ถูกฆาตกรรมแล้วพาดศพไว้บนดาดฟ้า หลังจากคืนที่ Yoon Do-joon ไปเที่ยวกลางคืนกลับมาดึกดื่น เพราะอยากลบคำสบประมาทของ Jin Tae ว่าตนสามารถหลับนอนกับผู้หญิงได้เช่นกัน ด้วยหลักฐานบางอย่างในที่เกิดเหตุ ทำให้ตำรวจเชื่อมั่นว่า Yoon Do-joon เป็นฆาตกร และโดยไม่ลังเล เขาจึงถูกจับ ร้อนถึงแม่ ที่เชื่อมั่นว่าลูกชายตนเองไม่ได้เป็นคนทำ รวมทั้งคำให้การที่แกว่งไปมาของ Yoon Do-joon เองเพราะอาการที่เป็น, การวางเฉยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทนายความที่เธออุตส่าห์เก็บเงินไปจ้างมา ทำให้แม่ต้องเป็นคนตามสืบเรื่องราวด้วยตนเองทั้งหมด โดยได้คำแนะนำจาก Jin Tae ที่เธอเคยสงสัยเขาเป็นคนแรก ให้ตามหาข้อมูลจากคนรอบข้างผู้ตาย ก่อนจะนำไปสู่ความจริงที่หนังค่อยๆ เฉลย ซึ่งซับซ้อนกว่าที่คิดมากนัก

ถึงแม้หนังจะใช้ชื่อเรื่องที่แปลกันตรงๆ ว่า แม่” แต่นี่ไม่ใช่หนังรักหวานซึ้งระหว่างแม่-ลูก ที่มาในแนวดราม่าบีบน้ำตาทั่วๆ ไป ทว่าหนังใช้ประเด็นนี้เป็นแกนเรื่องหลัก ท่ามกลางเนื้อหาในแนวสืบสวนสอบสวน ซึ่งถูกคลุกเคล้าเข้ากันได้อย่างกลมกลืน ผ่านบทภาพยนตร์ที่ซับซ้อน และหลอกล่อคนดูให้สับสนอยู่ตลอดเวลา จนยากแก่การคาดเดาบทสรุป กระทั่งเมื่อหนังเฉลยข้อมูลที่เป็นปมปริศนาเกี่ยวกับตัวฆาตกรแล้วก็ตาม เราก็อาจยังไม่สามารถปักใจเชื่อได้แน่นอนนัก แต่หากเป็นดังนั้นจริง หนังก็ยังเลือกที่จะกระแทกใส่คนดูอีกต่อหนึ่ง ด้วยชะตากรรมของตัวละครที่ทั้งน่าเห็นใจ และเสียดสีสังคมไปพร้อมๆ กัน

Kim Hye-ja นักแสดงสาวใหญ่ ให้การแสดงระดับสุดยอด และน่าประทับใจเป็นที่สุด ในหนังที่เหมือนเป็นการโชว์ออฟ ของเธอเรื่องนี้ กระนั้น เธอก็ไม่ได้พยายามสร้างความโดดเด่นให้กับตัวละครของเธอจนเกินพอดี แต่สามารถสร้างความกลมกลืนเข้ากับเรื่องราว และบุคคลรอบข้างได้อย่างน่าชื่นชม ขณะที่นักแสดงสมทบคนอื่นๆ ต่างทำหน้าที่เสริมส่งตัวละครของเธอให้ยิ่งน่าเอาใจช่วยไปโดยตลอดอีกด้วย อีกคนที่สมควรได้รับการกล่าวถึง ก็คือ Won Bin ที่รับบทหนุ่มที่มีพัฒนาการทางสมองช้ากว่าคนปกติ ได้อย่างน่าเชื่อถือ แม้จะไม่ถึงกับโดดเด่น และอาจจะถูกกลบรัศมีจากตัวละครแม่ ของ Kim Hye-ja ไปบ้าง แต่ทั้งคู่นับว่าเข้าคู่กันได้อย่างเหมาะเจาะ นับเป็นการคืนสู่วงการภาพยนตร์หลังห่างหายไปนานได้อย่างน่าพอใจ

หลังจากดูจบ เชื่อว่าคนดูคงพบเห็นความไม่ธรรมดาของหนังเกี่ยวกับ แม่ ที่แฝงอยู่ในความธรรมดา เรื่องนี้ได้ไม่ยาก ทั้งประเด็นความรักของแม่ ที่ทุ่มเททำได้ทุกอย่างเพื่อลูก ไม่ว่าจะต้องทำอะไรลงไปก็ตาม และประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดชอบ, การประเมินคุณค่าต่อกันและกันของคนในสังคม ที่ไม่ว่าจะเป็นที่แห่งหนตำบลใด ก็ล้วนมีเส้นบางๆ ระหว่างกันขวางกั้นความไว้เนื้อเชื่อใจกันอยู่ตลอดเวลา

วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 01, 2553

She's Out Of My League: คน (แบบไหน) ที่คู่ควร


ระยะหลังมานี้ หนังวัยรุ่นวุ่นรัก จะห่างหายไปจากวงการฮอลลีวู๊ดนานพอสมควร ยิ่งที่เกี่ยวกับวัยรุ่นวัยเรียน ยิ่งแล้วใหญ่ การมาของ She’s Out of My League จึงเป็นเหมือนเป็นออเดิร์ฟ หรืออาหารว่าง ของคอหนังแนวนี้ให้ได้คลายความคิดถึงได้บ้าง ถึงแม้ว่านี่จะไม่ใช่หนังวัยรักวัยเรียนเสียทีเดียวก็ตาม

เรื่องราวเป็นของ Kirk (Jay Baruchel) หนุ่มหน้าตาธรรมดา แถมรูปร่างยังผอมแห้งแรงน้อยเสียอีก เขาเพิ่งถูก Marnie (Lindsay Sloane) แฟนสาวที่เป็นเด็กซึ่งพ่อแม่ของเขา (Adam LeFevre & Debra JoRupp) รับอุปการะด้วย บอกเลิกและไปคบกับ Ron (Hoyes MacArthur) หนุ่มบึ๊กนิสัยเถื่อนๆ แทน ทำให้ Kirk โศกเศร้าเสียใจเป็นการใหญ่ แม้ว่าเพื่อนๆ ของเขาทั้ง Stainer (T.J. Miller), Jack (Mike Vogel) และ Devon (Nate Torrence) จะบอกว่าดีแล้วที่เขาเลิกกับผู้หญิงที่เหมือนเป็นนางมารร้ายคนนั้นได้เสียที กระทั่งการเข้ามาแบบไม่ทันตั้งตัวของ Molly (Alice Eve) สาวสวยที่สุดแสนจะฮอต และเป็นที่หมายปองของชายหนุ่มทั่วไป ซึ่งจากการได้รู้จักกันโดยบังเอิญเมื่อ Kirk เก็บโทรศัพท์ I-phone ของเธอได้ และนำมาคืน ด้วยความสุภาพ และไม่มีท่าทีจะหลีเธอเลย ทำให้ Molly ตัดสินใจรุกก่อนด้วยการนัดเดท ทั้งไปดูกีฬาฮ๊อกกี้, ดินเนอร์ อันทำให้ไปเจอกัน Cam (Geoff Stults) แฟนเก่าที่เป็นนักบินของเธอ รวมถึงการไปร่วมรับประทานอาหารกับครอบครัวของ Kirk จนทำให้ทุกคนที่เป็นเขาเป็นผู้ชายระดับหางแถว พากันอิจฉากันหมด โดยเฉพาะ Marnie ที่มีทีท่าจะกลับมาขอคืนดีด้วยซะงั้น

หนังเล่นสนุกกับประเด็นความไม่มั่นใจในรูปร่างหน้าตา และคุณสมบัติแย่ๆ ของฝ่ายชาย ตั้งแต่รูปร่างผอม หน้าเห่ย การงานต่ำต้อย ขณะที่ฝ่ายหญิงสาวนั้น กลับดูตรงกันข้ามกับเขาโดยสิ้นเชิง ทว่าดูเหมือนเขาจะมองข้ามส่วนดี ที่เธอมองเห็นในตัวเขา นั่นคือความดีงามในจิตใจ และความสุภาพ อ่อนน้อม ซึ่งแทบหาไม่ได้ในตัวผู้ชายที่คิดว่าตัวเองเกิดมาสมบูรณ์แบบ ตัวอย่างเด่นชัดคงจะหนีไม่พ้นแฟนเก่าของ Molly นั่นเอง ซึ่งความคิดแบบนี้ คือส่วนที่กลบข้อดีภายนอก อย่างรูปร่างหน้าตาเสียหมดสิ้น ส่วนตัวของ Kirk อยู่ในกรณีตรงข้าม เพราะคิดเสมอว่าตัวเองรูปลักษณ์ภายนอกไม่ดี จึงเกิดความเจียมตัว การแสดงที่สื่อออกมาจากภายใน จึงเต็มไปด้วยลักษณะที่ผู้หญิง (หรือคนส่วนใหญ่) ต้องการ นั่นคือการวางตัวดี และให้เกียรติคนอื่น เพียงแต่ว่าหากพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้ว นั่นหาใช่สิ่งที่ออกมาจากใจจริงไม่ เพราะมันเป็นเพียงสิ่งที่เขาคิดว่า คนต่ำต้อย (ในทางกายภาพ หรือรูปลักษณ์ภายนอก) อย่างเขา พึงปฏิบัติต่อคนที่เหนือกว่าตน ดังนั้น ในฉากท้ายเรื่อง ที่ตัวละครของ Molly ตีความการแสดงออกของ Kirk ก่อนที่ทั้งสองจะตกลงมีสัมพันธ์ลึกซึ้งต่อกัน ว่าเขาต้องการพยายามหาข้อเสียในตัวเธอ เพื่อที่จะได้รู้สึกว่าเขาคู่ควรเธอขึ้นมาบ้าง จึงไม่ใช่ข้อกล่าวหาที่เกินเลย เพราะจะว่าไปแล้ว Kirk เหมือนจะคิดเช่นนั้นจริงๆ เพียงแต่ไม่ใช่ด้วยเจตนาด้านร้าย เขาหวังแค่ให้ตนเองดูมีค่าเพิ่มขึ้นมาอีกนิด (หรือในทางกลับกันคือให้ตัวเองได้รู้สึกว่า คนที่คู่ควรกับเขา ก็มี “ตำหนิ” อยู่บ้าง) ซึ่งในทัศนคติของเขาแล้ว นั่นคือลักษณ์ของคนที่ “คู่ควร” กันควรจะเป็น และจากจุดนี้เอง ที่เหมือนหนังจะทำผิดพลาดในประเด็นหลักที่ต้องการจะสื่อ เพราะหากหนังต้องการจะบอกเล่าถึงความเหมาะสม และคู่ควรกันของคนที่มีความแตกต่างกันในด้านรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว บทสรุปในส่วนความคิดของตัวละครหลักฝ่ายชายอย่างที่ว่ามา ควรถูกล้มล้างด้วยเหตุผลที่ดีกว่า นั่นคือ ความเหมาะสมซึ่งมาจากปัจจัยภายใน อันหมายถึงจิตใจที่งดงามต่างหาก แต่ที่เห็นในหนัง กลับเลือกที่จะไปเปิดเผยความลับของตัว Molly ที่ยิ่งเป็นการตอกย้ำความคิดที่ Kirk คิดในทีแรกว่าเป็นสิ่งถูกต้อง และนั่นทำให้ประเด็นของความดีงามจากภายในจิตใจ ถูกลดทอนความสำคัญไปจากเรื่องราวอย่างน่าเสียดาย

วันเสาร์, มิถุนายน 05, 2553

WAITING IN THE DARK: สายสัมพันธ์ในความมืดมิด

ผลงานจากผู้กำกับ ที่เคยเขียนบทให้หนังแนวสยองขวัญ ในตระกูลสับๆ ทั้งหลายอย่าง Audition (1999) ที่เคยได้รับคำชมมาแล้ว แต่เมื่อมากำกับเอง เขากลับดูจะถนัดแนวหนังดราม่า เสียมากกว่า รวมทั้งผลงานกำกับลำดับที่ 4 เรื่องนี้ของเขาในปี 2006 ก็เช่นเดียวกัน

หนังแบ่งเรื่องราวออกเป็น 3 ส่วนย่อยๆ ที่อันที่จริงคือเรื่องเดียวกันทั้งหมด เพียงแต่ในส่วนแรกจะเล่าถึงเรื่องราวที่มีตัวละครอย่าง Michiru Honma (Rena Tanaka) เป็นศูนย์กลาง เธอเป็นหญิงสาวตาบอด ที่ใช้ชีวิตอยู่กับพ่อ (Ittoku Kishibe) ก่อนพ่อจะเสียชีวิตไปอย่างกะทันหัน จนต้องใช้ชีวิตอยู่เพียงลำพังในบ้านใกล้สถานีรถไฟที่พ่อทิ้งไว้ให้ และเหลือเพียง Kazue (Mao Miyaji) เพื่อนที่สนิทสนมกันมาตั้งแต่ชั้นประถมเพียงคนเดียวที่แวะเวียนมาเยี่ยมและพาไปซื้อของอย่างสม่ำเสมอ ส่วนที่สองเป็นชีวิตของ Akihiro Oishi (Bo-lin Chen) หนุ่มลูกครึ่งจีน-ญี่ปุ่น ที่มาใช้ชีวิตอยู่เพียงลำพังที่นี่ แต่ดูเหมือนจะไม่มีความสุขนัก เนื่องจากเขามักจะมีปัญหาในการปรับตัวให้เข้ากับคนรอบข้าง นั่นรวมถึงเพื่อนร่วมงานกลุ่มหนึ่ง ที่ไม่ชอบเขานัก ทั้งยังชอบเอารัดเอาเปรียบเขาในทุกวิถีทาง โดยเฉพาะ Toshio Matsunaga (Koichi Sato) หนุ่มจอมเจ้าชู้และเป็นหัวโจกของกลุ่ม ทำให้วันหนึ่งเมื่อ Toshio ถูกผลักตกรถไฟที่สถานีใกล้บ้านของ Michiru เขาจึงกลายเป็นผู้ต้องสงสัย และถูกตำรวจตามล่าตัว จนต้องหนีมาหลบอยู่ในบ้านของ Michiru เงียบๆ

ส่วนที่ 3 ซึ่งเป็นส่วนสุดท้าย หนังโฟกัสไปที่เรื่องราวของตัวละครหลักทั้ง 2 ที่มาบรรจบกันในบ้านของ Michiru และค่อยๆ พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างช้าๆ ท่ามกลางความเงียบงันในบ้าน ทว่าบางอย่างกำลังค่อยๆ ก่อตัวขึ้น พร้อมๆ กับความจริงเกี่ยวกับตัวฆาตกรตัวจริง ที่กำลังจะถูกเปิดเผย เมื่ออีกหนึ่งตัวละครสำคัญอย่าง Harumi Mishima (Haruka Igawa) เพื่อนบ้านสาวที่ทำงานอยู่ในร้านอาหารอิตาเลี่ยนเข้ามาผูกมิตร หลังจากอ้างว่าเก็บผ้าที่ปลิวไปจากราวของ Michiru ได้มาคืนให้

ต้องยอมรับว่าผู้กำกับและเขียนบท Daisuke Tengan พัฒนาเรื่องราวที่ดูเหมือนเรียบง่าย ออกมาได้อย่างชาญฉลาด ตั้งแต่บทภาพยนตร์ที่ถูกผูกโยง และเชื่อมต่อเข้าด้วยกันอย่างลงตัว ไปจนถึงการกำกับที่แม้บรรยากาศจะออกมาแบบเรียบเรื่อย ชวนให้คนดูง่วงเหงาหาวนอนได้ง่าย ทว่าไม่มีช่วงไหนเลย ที่จะรู้สึกเบื่อหน่ายถึงขั้นนั้นได้ ตรงกันข้าม หนังพาคนดูให้ติดตามเรื่องราวไปได้จนจบอย่างกระตือรือร้น ผ่านความสัมพันธ์ของ 2 ตัวละครหลักที่เหมือนจะไม่มีอะไรมากมาย (กว่าทั้ง 2 จะได้เริ่มบทสนทนาแรกกันอย่างเป็นทางการ ก็ปาเข้าไปนาทีที่ 90 กว่าเข้าไปแล้ว) แต่คนดูสามารถรับรู้ได้ถึงความผูกพันที่ทั้งคู่มีให้แก่กัน โดยไม่ต้องใช้กิริยาอาการใดๆ มากไปกว่าสายตา และความรู้สึก

อาจเป็นเพราะตัวละครทั้ง 2 มีหลายอย่างคล้ายกัน และเมื่อได้มาอยู่ร่วมกัน ต่างก็เป็นส่วนเติมเต็มซึ่งกันและกันได้อย่างเหมาะเจาะ ฟังดูอาจเป็นหนังรักแบบพรหมลิขิตไปสักหน่อย แต่แทบไม่มีช่วงไหนเลยที่หนังพยายามขีดเส้นกำหนดชะตาชีวิตของทั้งคู่ไปในทางนั้น ตรงกันข้าม เมื่อคนสองคนที่เป็นคู่กัน ได้พบเจอและเรียนรู้กันและกันแล้ว เมื่อนั้นเองที่ความสัมพันธ์จะสามารถงอกงาม และผลิบานอย่างเต็มที่อย่างที่มันควรจะเป็น

INVICTUS: การให้ที่ยิ่งใหญ่ คือการ "ให้อภัย" และใช้กีฬา เป็นยาประสานสาัมัคคี


นับเป็นโครงการในฝันเรื่องหนึ่ง ของผู้กำกับ Clint Eastwood ที่จะนำหนังสือเรื่อง Playing the Enemy ของ John Carlin ซึ่งเขียนจากเรื่องจริงของประธานาธิบดี Nelson Mandela อีกต่อหนึ่ง และชื่อเดิมในการนำมาขึ้นจอก็คือ The Human Factor ก่อนจะถูกเปลี่ยนมาใช้ชื่อ Invictus (ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลว่า “ทรหด” หรือ “ไม่ถูกเอาชนะ”) ก่อนนำออกฉายจริงในเวลาต่อมา

หนังเปิดเรื่องในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1990 ที่มีการปล่อยตัว Nelson Mandela (Morgan Freeman) หนึ่งในแกนนำที่ผู้ต่อต้านการแบ่งแยกสีผิว โดยรัฐบาลผิวขาวของพรรค National Party ที่ปฏิบัติงานในรัฐสภามายาวนานตั้งแต่ยุคบุกเบิก ซึ่งสมัยนั้นชาวแอฟริกันผิวดำถูกเอารัดเอาเปรียบ แบ่งแยก และจำกัดสิทธิมากมาย กระทั่งเมื่อรัฐบาลยินยอมมอบสิทธิในการเลือกตั้งให้แก่ชาวผิวดำ และ Mandela ลงสมัครรับเลือกตั้ง เขาจึงได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของแอฟริกาใต้ นำไปสู่จุดเปลี่ยนแปลงสำคัญ เมื่อวัตถุประสงค์หลักที่เขาตั้งใจไว้แต่แรก คือการรวมชาติ แต่ปัญหาสำคัญอยู่ตรงคนสองฝ่ายที่มีความขัดแย้งกันอย่างมาก คือฝ่ายผิวดำที่โกรธแค้นชาวผิวขาวกับสิ่งที่เป็นมายาวนานก่อนหน้านี้ ถึงขนาดเชียร์ชาติอื่นทุกชาติที่แข่งกับประเทศตนในกีฬารักบี้ ซึ่งมีทีม Springbok ทีมประจำชาติที่เต็มไปด้วยคนผิวขาว และมีเพียงหนึ่งเดียวที่เป็นคนผิวดำอยู่ในทีม ส่วนชาวผิวขาวก็มีอาการหวาดระแวงว่าเมื่อเปลี่ยนรัฐบาลเป็นชาวผิวดำแล้วจะถูกแก้แค้นกับสิ่งที่พวกเขาเคยทำมาก่อน แต่ Mandela ก็เปลี่ยนความคิดของคนทั้งสองฝ่าย เริ่มด้วยการขอให้คณะทำงานในสำนักงานของประธานาธิบดีทีมเดิมซึ่งเป็นคนผิวขาว อยู่ปฏิบัติงานต่อ การให้ทีมผู้รักษาความปลอดภัยผิวดำของตนปฎิบัติหน้าที่ร่วมกับทีมรักษาความปลอดภัยผิวขาว ไปจนถึงการนำกีฬารักบี้ มาเป็นจุดศูนย์กลาง โดยเขาขอให้ชนผิวดำหยุดการล้มล้างทีมเดิม และจะอาศัยทีม Springbok มาเป็นตัวเชื่อมโยงความแตกแยกของทั้งสองฝ่าย ซึ่งได้ความร่วมมือจาก Francois Pienaar (Matt Damon) กัปตันทีมที่เป็นชนผิวขาว ให้ออกทัวร์กับเด็กๆ ผิวดำในเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ ก่อนจะฝึกซ้อมเพื่อพาทีมไปสู่ชัยชนะในการแข่งขัน Rugby World Cup ซึ่งประเทศแอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพในปี 1995 ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยนักของคนรอบข้าง ทั้งเลขา, หัวหน้าทีมรักษาความปลอดภัย, ประชาชนผิวขาวทั่วไป รวมถึงครอบครัวของ Francois Pienaar และกระทั่งลูกสาวของเขาเองก็เช่นกัน ทว่าคนเหล่านั้นล้วนคิดผิด...และทั้งหมดสามารถรับรู้ได้ถึงความสำเร็จในการสร้างความสามัคคีให้เป็นปึกแผ่นของคนในชาติได้ จากการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ เมื่อแอฟริกาใต้ สามารถเอาชนะคู่แข่งจากประเทศนิวซีแลนด์ได้ในช่วงเวลาต่อเวลาพิเศษไปอย่างเฉียดฉิว ซึ่งเป็นดั่งคำให้สัมภาษณ์ของ Francois หลังแข่งเสร็จที่ว่า “ผมไม่ได้รับเสียงเชียร์จากคน 60,000 คนในสนาม แต่ได้รับเสียงเชียร์จากคน 43 ล้านคนในประเทศนี้” ก่อนเขาจะก้าวขึ้นรับถ้วยรางวัลจากปธน.Mandela ท่ามกลางเสียงเชียร์รอบสนามที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนทุกสีผิว

ต้องยอมรับว่า ผู้กำกับ Clint Eastwood ยังคงรักษาระดับมาตรฐานการกำกับไว้ได้อย่างดี แม้ช่วงครึ่งชั่วโมงแรก อาจจะดูเรียบเฉื่อยไปนิด แต่ก็เป็นไปตามสไตล์งานเดิมๆ ของเขา ช่วงหลังจากนั้นเสียอีก ที่ถึงจะดูน่าติดตาม และสนุกไปได้จนจบ แต่หนังกลับดูแตกต่างไปจากสไตล์ถนัดของเขาไม่น้อย ทั้งงานดนตรีที่ยังมีเพลงประกอบในจังหวะคึกคักเข้ามาบ้างประปราย และการเล่าเรื่องที่ชวนให้ขวัญกำลังใจ (ซึ่งล้วนตรงข้ามกับผลงานในระยะหลังๆ ของเขาทั้งสิ้น ตั้งแต่ Mystic River, Million Dollar Baby, Flags of Our Fathers, Letter of Iwo Jima, Changeling มาจนถึง Gran Torino งานชิ้นก่อนหน้านี้) ทว่า นั่นก็ไม่ใช่ส่วนที่เขาทำได้ไม่ดี ตรงกันข้าม เขากลับสามารถพาเรื่องราวไปได้อย่างตลอดรอดฝั่ง ทั้งยังเป็นไปในแบบน่าติดตาม และดึงอารมณ์ร่วมจากคนดูได้เป็นอย่างดีเสียด้วย โดยเฉพาะในฉากท้ายเรื่อง ที่การแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ และบทสนทนาเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่ต่อจากนั้นของ 2 ตัวละครสำคัญ ช่วยฉุดอารมณ์คนดูให้รู้สึกฮึกเหิม ทั้งยังให้กำลังใจในการใช้ชีวิตในสังคมได้เป็นอย่างดี

หนังยังต้องขอบคุณการแสดงอีกบทบาทหนึ่งที่น่าชื่นชมของ Morgan Freeman ที่ถึงแม้จะไม่ใช่ระดับมาสเตอร์พีช แต่ก็นับว่าทำหน้าที่ในการสวมบทบาทเป็นตัวละครที่มีัตัวตนอยู่จริงได้อย่างจับต้องได้ แม้จะขาดแง่มุมอีกด้านหนึ่งไปสักนิด (เพราะบทหนังดูจะตั้งใจ "อวย" ปธน.Nelson Mandela อยู่ในที) จนตัวละครแทบจะดูเป็นพ่อพระก็ตามที ส่วนงานด้านโปรดักชั่นต่างๆ ล้วนอยู่ในระดับมาตรฐาน เพียงแต่ไม่มีอะไรโดดเด่นเพียงพอให้พูดถึงหรือน่าจดจำเป็นพิเศษ นอกเสียจากเพลงประกอบท้ายเรื่องอย่างเพลง Colorblind ของ Overtone ที่นอกจากจะไพเราะแล้ว เนื้อหายังสะท้อนแง่มุมหนึ่งของตัวหนังได้เป็นอย่างดี

วันเสาร์, พฤษภาคม 22, 2553

…ING: ขอแค่มีเธออยู่ใน "ความทรงจำ"


หนังรักจากเกาหลีอีกเรื่อง ที่ได้ยินกิตติศัพท์มาว่าซาบซึ้ง ชวนประทับใจ จึงตั้งความหวังเอาไว้ค่อนข้างมาก และแม้จะไม่ถึงกับผิดหวัง แต่ก็นับว่าหนังไปได้ไม่ถึงอย่างที่คาดไว้

Gang Min-Ah (Lim Su-Jeong) เด็กสาวมัธยมปลายที่เพิ่งย้ายมาอยู่โรงเรียนใหม่ไม่นาน ทำให้ยังไม่มีเพื่อนสนิท เธออาศัยอยู่กับ Mi-Suk (Lee Mi-Suk) แม่ที่ทำเอาใจใส่เธอเป็นอย่างดี และเป็นทุกอย่างให้เธอแม้แต่การให้เธอเรียกชื่อแทนคำว่าแม่ เหมือนเพื่อนทั่วๆ ไป เพราะทั้งสองต่างมีกันและกันเท่านั้น หลังจากต้องสูญเสียพ่อ/สามี ไป Min-Ah ชื่นชอบการเต้นบัลเลต์ และแอบเก็บความฝันที่จะได้ดูการแสดงของคณะบัลเลต์ชื่อดังในยุโรปไว้ แต่นั่นก็ไม่พ้นสายตาของผู้เป็นแม่ ที่ยินดีที่จะพาเธอไปทันทีที่มีโอกาส เพราะรู้ดีว่าลูกสาวจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นานแล้ว

ไม่นาน Yeong-Jae (Kim Rae-Won) ช่างภาพหนุ่มก็ก้าวเข้ามาในชีวิต เมื่อเขาย้ายมาอยู่อพาร์ทเม้นท์ห้องข้างล่างของสองแม่ลูก Yeong-Jae เริ่มตีสนิทกับ Min-Ah ทั้งที่ดูเหมือนเธอจะไม่ใส่ใจอะไร และเหมือนไม่อยากจะมีความรัก แต่เรื่องเล่าจากเพื่อนในโรงเรียนใหม่ที่เกี่ยวกับชายหนุ่มที่คอยทำหน้าที่โบกรถตรงทางม้าลายหน้าโรงเรียนก็สร้างความประทับใจ และเป็นเหมือนความคาดหวังที่เธออยากพบเจอความรักในแบบนั้น ซึ่งทีละน้อยที่เธอเริ่มรับรู้ว่า Yeong-Jae คือคนๆนั้น เพียงแต่หลังจากนั้น Min-Ah ก็ได้รับรู้ความลับเกี่ยวกับโรคร้ายที่เธอเป็นอยู่ ซึ่งแม่เก็บเอาไว้คนเดียวโดยบังเอิญ

บทหนังมีการเชื่อมโยงเรื่องราวเข้ากับสิ่งละอันพันละน้อยที่แทรกเข้ามาเป็นรายละเอียดปลีกย่อยในหนัง เข้ากับประเด็นหลักที่หนังนำเสนอได้อย่างเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นความรักของชายโบกรถบนทางม้าลายหน้าโรงเรียน กับความรักของ Min-Ah กับ Yeong-Jae หรือจะเป็นเต่าน้อยสองตัวที่ Yeong-Jae มอบเป็นของขวัญให้กับ Min-Ah ที่เหมือนเป็นการสะท้อนนัยยะเรื่องการมีชีวิตยืนยาวของเต่า กับชีวิตแสนสั้นของ Min-Ah เป็นต้น

นอกจากนี้ หนังยังให้น้ำหนักของความรักระหว่างแม่-ลูก มากพอๆ กับความรักระหว่างหนุ่มสาว ซึ่งให้ทั้งผลดีและผลเสียไปพร้อมๆ กัน กล่าวคือคนดูจะรู้สึกซาบซึ้งกับความรักแบบหลังน้อยลง เพราะหนังแบ่งช่วงเวลาส่วนหนึ่งไปให้ความรักในแบบแรก ซึ่งแน่นอนว่าแลดูยิ่งใหญ่ และมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากกว่า เมื่อพิจารณาจากการนำเสนอตั้งแต่แรกแล้ว รวมทั้งการแสดงของ Lee Mi-Suk เองก็กินขาดในด้านการเข้าถึงตัวละครแม่ ส่วน Kim Rae-Won กับ Lim Su-Jeong เอง ถึงจะมีเคมีที่เข้ากันได้ดีพอสมควร แต่ดูเหมือนช่วงเวลาที่ตัวละครของทั้งคู่มีร่วมกัน ดูจะน้อยไปนิด การมีอารมณ์ร่วมในตอนท้ายเรื่องจึงออกจะไม่สมบูรณ์เสียทีเดียว

อย่างไรก็ดี นับว่าหนังมีดีอยู่ในตัว ตามมาตรฐานหนังรักเกาหลีเรื่องหนึ่ง ทั้งงานด้านเทคนิค ตั้งแต่การกำกับภาพ ดนตรีประกอบ ไปจนถึงการแสดง และบทดังที่ได้กล่าวไปแล้ว และหากไม่คิดอะไรมาก หนังสามารถเรียกน้ำตาจากคนดูที่อ่อนไหวในเรื่องความรักกับการจากลาแบบนี้ได้ไม่ยาก