วันอาทิตย์, มีนาคม 21, 2553

นาคปรก:วิกฤติศรัทธาใน "ผ้าเหลือง"


ในที่สุด งานกำกับชิ้นที่ 2 ของผู้กำกับ ภวัต พนังคศิริ ก็ได้ฤกษ์ออกฉายในประเทศบ้านเกิดเสียที หลังจากงานกำกับชิ้นแรกออกฉายไปตั้งแต่6 ปีก่อน และงานกำกับชิ้นที่ 3 อย่าง “อรหันต์ซัมเมอร์” ได้ออกฉายแซงหน้าไปแล้วถึง 2 ปีเต็ม ขณะที่งานชิ้นนี้ได้ไปเดินสายฉายโชว์ตามเทศกาลหนังต่างๆ หลายประเทศทั่วโลก และได้รับการตอบรับอย่างน่าพึงพอใจเป็นอย่างมาก และไม่ใช่เรื่องน่าเสียดายเลย เมื่อมองว่า การได้ฉายช้าไป 3 ปี จากวันที่หนังเสร็จสมบูรณ์ แต่ได้ฉายแบบฉบับเต็ม ไม่ต้องถูกตัด เหมือนอย่างที่ Syndromes and a Century: แสงศตวรรษ ของผู้กำกับ อภิชาตพงษ์ วีระเศรษฐกุล เคยเจอ

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าหนังพูดถึงประเด็นแรงๆ ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา โดยเรื่องราวเริ่มจากกลุ่มโจร 3 คน ประกอบด้วย ปอ (สมชาย เข็มกลัด) กับ สิงห์ (เร แมคโดนัลด์) เพื่อนสนิทที่ตัดสินใจปล้นรถขนเงินจำนวน 7 ล้านบาท แต่ต้องหาทางหนีการตามล่าจากตำรวจ จึงได้ให้ ป่าน (ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์) น้องชายแท้ๆ ของปอ เป็นคนนำเงินดังกล่าวไปซ่อน ก่อนที่ประมาณ 2-3 ปีให้หลัง ที่ทั้ง 3 คนตั้งใจมาเอาเงินดังกล่าวคืน ทว่าบริเวณที่เคยฝังเงินไว้ กลับถูกสร้างโบสถ์ของวัดแห่งหนึ่งทับเอาไว้แล้ว ทางเดียวที่จะขุดเงินจำนวนนั้นขึ้นมาได้ โดยไม่มีคนสงสัย คือการบวชเป็นพระ ซึ่งหลวงตาชื่น (สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์) พระชราที่ผ่านมาเห็นเข้า จำต้องโกนหัวและให้ผ้าเหลืองแก่ ปอ กับสิงห์ ส่วน ป่าน ที่ไม่ยอมบวช อาศัยอยู่ที่วัดนี้ในฐานะเด็กวัด

หนังเปรียบเปรยตัวละครหลักของเรื่อง กับดอกบัวสี่เหล่าที่เป็นคำสอนของพระพุทธองค์ ได้อย่างกลมกลืน ขณะเดียวกัน งานด้านภาพก็มีการสื่อด้วยภาพของพระจันทร์หลากหลายรูปแบบในยามค่ำคืน รวมถึงดอกบัวในสระที่ปรากฎอยู่ในหลายฉาก ก็เป็นตัวแทนพัฒนาการของตัวละครในแต่ละช่วงเวลาที่ค่อยๆ ผ่านไป นอกจากนี้ หนังยังกล้าหาญในการนำเสนอภาพที่อาจมองได้ว่าขัดต่อธรรมเนียมสงฆ์ เช่นกรณีเกี่ยวกับการแตะต้องตัวสตรี ซึ่งแยกออกได้เป็น 2 กรณีผ่านเจตนาของตัวละครที่แสดงออกมาให้เห็นได้อย่างเด่นชัด กรณีแรกคือการแตะต้องตัวด้วยเจตนาในแง่กามารมณ์ ผ่านตัวละคร สิงห์ ที่มีความต้องการจะเสพสังวาสกับ น้ำผึ้ง (อินทิรา เจริญปุระ) เมียสาวที่เป็นโสเภณีของตนเองซึ่งเขาได้โทรเรียกให้มาหาจากกรุงเทพฯ และเธอตัดสินใจมาทันทีที่รู้ว่า สิงห์ มีเงินจากการปล้น ส่วนอีกกรณี คือการที่หลวงตาชื่นช่วยเหลือสีกาคนหนึ่งซึ่งโดนงูพิษกัด และป่านที่แตะต้องตัวโยมแม่ (รัชนู บุญชูดวง) ที่ตาบอด ให้มาสัมผัสผ้าเหลืองของลูกที่ได้บวชอย่างถูกต้องแล้ว แน่นอนว่าแม้ทั้ง 2 กรณีจะเหมือนกันที่การกระทำ แต่หากมองจากเจตนาแล้ว เชื่อว่าคนดูสามารถแยกแยะได้อย่างแน่นอน ว่ากรณีไหนที่ผิดธรรมเนียมสงฆ์

จากองค์ประกอบทั้งหมดของหนัง แทบจะเรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบ หนังได้ทั้งการแสดงที่สมบทบาท และบาดลึกทางความรู้สึกจากนักแสดงแทบทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมชาย เข็มกลัด, เร แมคโดนัลด์, ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์, สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์ และหญิงสาวหนึ่งเดียว อินทิรา เจริญปุระ ซึ่งแน่นอนว่าทั้งหมดนี้ คงกอดคอกันเข้าชิงรางวัลช่วงต้นปีหน้ากันอย่างพร้อมเพรียง ติดอยู่เพียงว่า 3 คนแรก อาจต้องชิงกันเองในสาขานักแสดงนำ และอาจต้องมีคนใดคนหนึ่งต้องพลาดไป หากปีนี้มีคู่แข่งในสาขานำชายเข้มข้น นอกจากนี้หนังยังมีบทภาพยนตร์ที่เข้มข้น และเล่าเรื่องได้อย่างสมจริง น่าเชื่อถือ การตัดต่อที่สอดประสานไปด้วยกันตั้งแต่ต้นเรื่องจนจบ และการถ่ายภาพที่เน้นสไตล์แบบหนังฟิล์มนัวร์ ซึ่งเข้ากับประเด็นหลักที่ต้องการนำเสนอ และความมืดหม่นในจิตใจตัวละครเป็นอย่างดี

ตอนจบของหนัง ยังมีการหักมุมที่ค่อนข้างน่าพึงพอใจอีกด้วย เสียก็แต่การขึ้นข้อความในตอนช่วง End Credit ที่อาจลดทอนพลังของหนังลงไปบ้าง หากเท่าที่ทราบมานั่นไม่ใช่เป็นเจตนาของผู้สร้าง ทว่าจำเป็นต้องทำเพื่อให้ผ่านเซ็นเซอร์เท่านั้น

วันอาทิตย์, มีนาคม 07, 2553

The 6th SPIDEY THAI FILM AWARDS WINNERS: 2009


ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: Best Film

ผู้กำกับยอดเยี่ยม: Best Director

  • ก้องเกียรติ โขมศิริ (เฉือน: ฆาตกรรมรำลึก)
  • ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ & มานิต ศรีวานิชภูมิ & สมานรัชฏ์ กาญจนะวณิชย์ (พลเมืองจูหลิง: Citizen Juling)
  • นัฐพล วงศ์ตรีเนตรกุล (ณ ขณะรัก: A Moment in June)
  • เป็นเอก รัตนเรือง (นางไม้)
  • สมเกียรติ วิทุรานิช (รักที่รอคอย: October Sonata)

นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม: Best Actor in a Leading Role

  • ชาคริต แย้มนาม (ณ ขณะรัก: A Moment in June)
  • ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ (รักที่รอคอย: October Sonata)
  • นพชัย ชัยนาม (นางไม้)
  • ปรเมศร์ น้อยอ่ำ (สามชุก ขอเพียงโอกาสอีกสักครั้ง)
  • อารักษ์ อมรศุภศิริ (เฉือน: ฆาตกรรมรำลึก)

นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม: Best Actress in a Leading Role

  • ชุติมา ทีปะนาถ (หนีตามกาลิเลโอ)
  • รัชวิน วงศ์วิริยะ (รักที่รอคอย: October Sonata)
  • วนิดา เติมธนาภรณ์ (นางไม้)
  • ศิริน หอวัง (รถไฟฟ้า..มาหานะเธอ)
  • สินิทธา บุญยศักดิ์ (ณ ขณะรัก: A Moment in June)

นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม: Best Actor in a Supporting Role

  • จิรายุ ละอองมณี (ห้าแพร่ง)
  • พิษณุ นิ่มสกุล (รักที่รอคอย: October Sonata)
  • สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์ (ความสุขของกะทิ)
  • สุเชาว์ พงษ์วิไล (ณ ขณะรัก: A Moment in June)
  • อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์ (เฉือน: ฆาตกรรมรำลึก)

นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม: Best Actress in a Supporting Role

  • จรินทร์พร จุนเกียรติ (หนีตามกาลิเลโอ)
  • เจสสิก้า ภาสะพันธุ์ (เฉือน: ฆาตกรรมรำลึก)
  • เดือนเต็ม สาลิตุลย์ (ณ ขณะรัก: A Moment in June)
  • มาช่า วัฒนพานิช (ห้าแพร่ง)
  • ศันสนีย์ วัฒนานุกูล (ความจำสั้น แต่รักฉันยาว)

บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: Best Screenplay

  • ความจำสั้น แต่รักฉันยาว
  • เฉือน: ฆาตกรรมรำลึก
  • ณ ขณะรัก: A Moment in June
  • รักที่รอคอย: October Sonata
  • อนุบาลเด็กโข่ง

กำกับภาพยอดเยี่ยม: Best Cinematography

  • ความสุขของกะทิ
  • เฉือน: ฆาตกรรมรำลึก
  • ณ ขณะรัก: A Moment in June
  • นางไม้
  • รักที่รอคอย: October Sonata

ลำดับภาพยอดเยี่ยม: Best Film Editing

  • เฉือน: ฆาตกรรมรำลึก
  • ณ ขณะรัก: A Moment in June
  • ท้าชน
  • พลเมืองจูหลิง: Citizen Juling
  • รักที่รอคอย: October Sonata

กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม: Best Art Direction

  • ความสุขของกะทิ
  • เฉือน: ฆาตกรรมรำลึก
  • ณ ขณะรัก: A Moment in June
  • นางไม้
  • รักที่รอคอย: October Sonata

ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม: Best Original Score

  • ก้านกล้วย ๒
  • ความสุขของกะทิ
  • เฉือน: ฆาตกรรมรำลึก
  • ณ ขณะรัก: A Moment in June
  • รักที่รอคอย: October Sonata

เพลงประกอบยอดเยี่ยม: Best Original Song